ฟ้องคดีแรงต้องทำอย่างไร
การฟ้องคดีแรงงาน
กฎหมายศาลแรงงาน (Labor Court Law)
▪ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522
▪ ข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาใน ศาลแรงงาน พ.ศ. 2556
▪ ป.วิ.พ. (พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 ให้น า ป.วิ.พ.มา ใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ
การฟ้องคดีแรงงาน
▪ กรณีกฎหมายก าหนดขั้นตอนวิธีการก่อนฟ้อง ต้องด าเนินการตาม ขั้นตอนเสียก่อน (มาตรา 8 วรรคสอง)
ฎีกา 1332/2543 การฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาล แรงงานฯ มาตรา 49 กฎหมายไม่ได้กำหนดขั้นตอนก่อนฟ้อง โจทก์มี อำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานได้ แต่ฟ้องอ้างว่าเลิกจ้างในระหว่างข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับโดยไม่เข้าข้อยกเว้น เป็นการฟ้องเรื่อง การกระทำอันไม่เป็นธรรมจะต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงาน สัมพันธ์เสียก่อน เมื่อโจทก์ไม่ได้ดำเนินการจึงฟ้องจำเลยในส่วนนี้ไม่ได้
▪ การฟ้องและการดำเนินคดีในศาลแรงงาน ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม (มาตรา 27) แต่โจทก์อาจต้องวางเงินต่อศาลแรงงานตามที่กฎหมายกำหนด
ฎีกา 3810/2542 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคสาม กำหนด ให้นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาล ต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่าย ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะฟ้องคดีได้ ส่วนการวางเงินโจทก์ต้อง วางเงินเฉพาะส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานได้ (และต้อง วางดอกเบี้ยตามค าสั่งนับถึงวันฟ้องด้วย มิฉะนั้นไม่มีอำนาจฟ้อง
- โจทก์ไม่มาศาล ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดีอีกต่อไป ศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ(มาตรา 40 วรรคหนึ่ง)
- จำเลยไม่มาศาล ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไป ฝ่ายเดียว(มาตรา 40 วรรคสอง)
- ศาลเป็นผู้ถามพยาน (ไม่มีซักถาม ถามค้านและถามติงแบบคดีแพ่ง) คู่ความหรือทนายความจะถามพยานได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจาก ศาลแรงงาน(มาตรา 45 วรรคสอง)
ฎีกา 12184/2553 ศาลแรงงานเท่านั้นเป็นผู้ซักถามพยาน คู่ความจะ ซักถามพยานได้ต่อเมื่อศาลแรงงานจะอนุญาตเท่านั้น การซักถามพยาน ตามที่ศาลอนุญาต ไม่จำต้องซักถามหรือถามค้านพยานดังกล่าวไว้ก่อน ถึงข้อความที่ตนจะนำสืบภายหลังตามป.วิ.พ. มาตรา 89 ไม่
ปรึกษาทนายเรื่องการฟ้องคดีแรงงาน โทร 0838843287