คดีเกี่ยวกับเงินดิจิตอล คริปโต forex

                       เงินดิจิตอล  ( Digital Currency) คือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์  ซึ่งอาจใช้แลกเปลี่ยนชื้อสินค้า หรือบริการได้  หรือ ใช้ในเก็งกำไร  เงินดิจิตอล มีข้อแตกต่างจากเงินกระดาษ ที่สำตัญ  คือ เงินดิจิตอลยังไม่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย  ไม่อาจมีรูปร่างได้  

                        สกุลของเงินดิจิตอลที่สำคัญได้แก่

                           1  บิทคอยน์ ( Bitcion ) โดยถือเป็นเงินดิจิตอล สกุลหลัก

                2 ไลท์คอยน์ ( Litecoin )

                3  อีเธอร์ ( Ether )

                4 USDT

                5 RIPPLE

 

                              กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิตอล

            1  พระราชบัญญัติเงินตรา  พ.ศ. 2501  ซึ่งพิจารณาจากข้อกฎหมาย และคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว  เงินดิจิตอล ไม่ใช่ เงินตรา ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติเงินตรา  ดังนั้น     พวกเงินคริปโต  ก็ไม่ไช่เงินตรา

           2  พระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 เงินตรา  หมายถึง สิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยน  ชำระหนี้ตามกฎหมายได้  ในประเทศไทย  ธนาคารแห่งประเทศไทย  ได้ออกประกาศอย่างชัดแจ้ง ว่า  เงินดิจิตัล พวกคริปโตเคอเรนซี่  ไม่อาจใช้ชำระหนี้ตามกฎหมายได้

          3  พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535  หลักทรัพย์ ได้แก่ หุ้น ตั๋วเงิน หุ้นกู้ พันธบัตร ดังนี้  คริปโตเคอเรนซี่  ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้

          4  พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินอิเล็กโทรนิกส์  คำนิยามของเงินอิเล็กโทรนิกส์  หมายถึง บัตรอิเล็กโทรนิกส์ สามารถนำไปชำระบริการใช้แทนเงินสดได้  สาระสำคัญคือ  ต้องได้รับการยอมรับตามกฎหมายให้ชำระราคานอกจากบุคคลที่ออกเหรียญ หรือเงินอิเล็กโทรนิกส์นั้น  ดังนี้จะต้องถูกบันทึกเป็น สกุลเงินของรัฐตามกฎหมาย เช่น สกุล ดอลลาร์  ยูโร บาท  คริปโตเคอร์เรนซี่  ไม่เคยถูกบันทึกในสกุลใด

          5 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

              มาตรา 137 ทรัพย์ หมายถึง วัตถุมีรูปร่าง

              มาตรา 138 ทรัพย์สิน หมายถึงทรัพย์ และวัตถุไม่มีรูปร่าง  อาจมีราคาและถือเอาได้

              พบว่า เงินดิจิตอล หรือ ครืปโตเคอเรนซี่  เป็นหน่วยข้อมูลบันทึกในคอมพิวเตอร์  ไม่มีรูปร่าง  จับต้องไม่ได้  จึงไม่ได้เป็นทรัพย์  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  จึงมีปัญหาว่า  การเอาไป จะผิดฐานยักยอก หรือ ลักทรัพย์ได้หรือไม่  เพราะวัตถุแห่งการ กระทำผิดต้องเป็นทรัพย์  อันหมายถึงวัตถุมีรูปร่างเท่านั้น  

            ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ 276 /2561

             ไม่ให้สถาบันการเงินทำธุรกรรม  หรือดำเนินกิจการ  ที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอเรนซี่

          6  พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิตอล

          7 พระราชกำหนดแก้ไข้เพิ่มเติมประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2561 ฉบับที่ 19  โดยหากลงทุนแล้วได้กำไรจากการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิตอล  หรือ คริปโตเคอเรนซี่  จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15

 

Visitors: 107,025