ปรึกษาทนายคดียืมเงินโทร 0838843287

๑.การกู้ยืมเงินกว่า สองพันบาท ขึ้นไป  ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืม จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้

ปพพ. มาตรา ๖๕๓  *การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อ ผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

๒.การกู้ยืมเงินนั้นกฎหมายห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี  หากคิดกินดอกเบี้ยจะตกเป็นโมฆะ

ตาม ปพพ. มาตรา ๖๕๔ บัญญัติว่า ท่านห้ามมิให้ คิดดอกเบี้ย เกิน ร้อยละสิบห้า ต่อปี ถ้า ในสัญญา กำหนดดอกเบี้ย เกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็น ร้อยละสิบห้า ต่อปี  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๙๑๓/๒๕๓๗ วินิจฉัยว่า การที่โจทก์นำดอกเบี้ยล่วงหน้าที่คิดจากจำเลยในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อั นเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๔๗๕ มาตรา  ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๖๕๔ ไปรวมเป็นต้นเงินที่กู้ยืมตามสัญญากู้เฉพาะดอกเบี้ยที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจึงเป ็นโมฆะแต่หนี้เงินต้นและข้อตกลงให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑.๒๕ ต่อเดือน ยังคงสมบูรณ์ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ และในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมนำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมฟ้องร้องบังคับคดีได้

การกู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานนั้น หากหลักฐานการกู้มีขึ้นในภายหลังก็ใช้ได้เช่นกัน

๓. คดีกู้ยืมเงินมีอายุความ ๑๐ ปี ตาม ปพพ. มาตรา ๑๙๓/๓๐  

๔. การใช้เงินกู้ยืมคืน

การกู้ยืมเงินที่ทำสัญญากันหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อผู้กู้ใช้คืนเงินกู้ ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืม หรือเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นให้แก่ผู้กู้ หรือ แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นด้วย

๕. สัญญากู้ยิมเงินไม่มีกำหนดชำระ
สัญญากู้ยืมที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ ซึ่งเจ้าหนี้จะฟ้องให้ชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามก่อนก็ได้

สัญญากู้ยืมที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้  เจ้าหนี้จะฟ้องขอให้ชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดไม่ได้

                                                         หลักฐานการกู้ยืมเงิน 

แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

1.กรณีจำนวนเงินที่กู้ยืมกัน ไม่เกิน 2,000 บาท กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องทำหลักฐานการกู้ยืมต่อกัน ดังนั้น แม้ตกลงยืมเงินกันด้วยวาจา เมื่อเกิดการผิดข้อตกลงหรือผิดสัญญาก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ตามกฎหมาย

2.กรณีจำนวนเงินที่กู้ยืมกัน เกิน 2,000 บาทขึ้นไป กฎหมายกำหนดให้การกู้ยืมเงินจะต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน มิเช่นนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีต่อกันไม่ได้

หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดก็ได้ แต่ต้องเป็นลายลักษณ์อักษร มีข้อความชัดแจ้งว่ามีการกู้ยืมเงินกันไปเป็นจำนวนเท่าใดและตกลงจะใช้คืนเมื่อใด และที่สำคัญคือต้องมีลายมือชื่อของผู้กู้ยืมเป็นสำคัญด้วย

ดังนั้น เนื้อความในเอกสารหลักฐานการกู้ยืมเงิน ต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้
1. วันที่ที่ทำสัญญากู้เงิน
2. ชื่อ ผู้ขอกู้เงินและผู้ให้กู้เงิน
3. จำนวนเงินที่กู้
4. กำหนดชำระ (จะมีหรือไม่มีก็ได้)
5. ดอกเบี้ย (ไม่เกิน 15% ต่อปี) เเต่ถ้าไม่ได้กำหนดเอาไว้กฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ มาตรา 7 ได้ใช้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
6.ผู้กู้ยืมต้องลงลายมือชื่อ (กรณีลงลายพิมพ์นิ้วมือจะต้องมีพยานรับรองลายนิ้วมือ 2 คน)

                                                          อายุความฟ้องคดีกู้ยืมเงิน 

การฟ้องร้องเรียกเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน มีอายุความ 10 ปีนับแต่วันถึงกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืน แต่หากสัญญากู้ยืมตกลงกันกำหนดชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ เช่น รวมทั้งหมด 5 งวด จะเป็นกรณีที่คู่สัญญาได้ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ ซึ่งจะมีอายุความเพียง 5 ปี  แต่ถ้าบัตรเครดิตมีอายุความเพียง 2 ปี


                                                    .ข้อแนะนำและข้อควรระวังเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน 

1.ห้ามลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าเด็ดขาด

2.ก่อนลงลายมือชื่อในสัญญากู้ ต้องตรวจสอบจำนวนเงินที่ระบุในสัญญาให้ถูกต้องและครบถ้วนตามจำนวนเงินที่ได้รับไป และในสัญญาต้องเขียนจำนวนเงินเป็นตัวหนังสือกำกับไว้ด้วยเสมอ เช่น กู้ยืมเงินไปจำนวน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)

3.อย่านำโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับการทำประโยชน์ในที่ดิน(น.ส.3)ไปให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันการกู้ยืมเงิน

4.สัญญาต้องทำอย่างน้อย 2 ฉบับ โดยให้ผู้กู้ยืมถือไว้ด้วย 1 ฉบับ

5.ควรมีพยานฝ่ายผู้กู้ยืมลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญาด้วยอย่างน้อย 1 คน

6.การชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ต้องขอรับใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับเงินซึ่งมีลายมือชื่อผู้ให้กู้ยืมลงกำกับด้วยทุกครั้ง (เพื่อไว้เป็นหลักฐานยืนยันว่าได้ชำระหนี้แล้ว)

7.เมื่อชำระหนี้ทั้งหมดต้องขอสัญญากู้คืนจากผู้ให้กู้ยืมด้วย

Visitors: 215,375