ทนายคดีรับของโจร

                                                                                             คดีรับของโจร

กฎหมายอาญามาตรา 357 ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้น เข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร

โทษของผู้กระทำความผิดฐานรับของโจร : รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

  1. ความผิดฐานชิงทรัพย์นี้มีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ภาความผิด ลักษณะ 12 ความผิด เกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 6 ความผิดฐานรับของโจร
  2. ผู้ใด “ช่วย” ซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้ มาโดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกหรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 357 วรรคหนึ่ง

ความผิดฐานรับของโจรนี้ แม้ลักษณะการกระทำจะคล้ายกับว่าเป็นการสนับสนุนผู้กระทำความผิด โดย การให้ความช่วยเหลือในประการต่างๆ เพื่อให้ทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดมานั้น เป็นการยากแก่การ ที่จะได้รับกลับคืนไปยังผู้เสียหายต่อไป แต่ไม่ถือว่าเป็นความผิดในฐานเป็นผู้สนับสนุนผู้กระทำความผิดตาม มาตรา 86 เพราะไม่ได้เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์นั้นก่อนหรือ ขณะที่มีการกระทำความผิดแต่อย่างใด แต่เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกภายหลังจากเกิดมีการกระ ทำความผิดขึ้นแล้ว กฎหมายจึงบัญญัติขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อเอาผิดกับบุคคลเหล่านี้นั่นเอง

ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำเพื่อค้ากำไรหรือได้กระทำต่อทรัพย์อันไดมาโดยการ ลักทรัพย์ ตามมาตรา 335(10) (คือ ความผิดฐานลักทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์) , ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาทถึง 20,000 บาท ตามมาตรา 357 วรรคสอง

ถ้าการกระทำความผิดฐานรบของโจรนั้น ได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา 335 ทวิ(คือกรณีการลักทรัพย์ที่มีไว้เพื่อประชาชนเคารพบูชาหรือในสถานที่มีไว้เพื่อให้ประชาชนใช้เคารพบูชา) การชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 ทวิ(คือกรณีการชิงทรัพย์ที่มีไว้เพื่อประชาชนเคารพบูชาหรือในสถานที่มีไว้เพื่อ ให้ประชาชนใช้เคารพบูชา) หรือการปล้นทรัพย์ตามมาตรา 340 ทวิ(คือกรณีการปล้นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อ ประชาชนเคารพบูชาหรือในสถานที่มีไว้เพื่อให้ประชาชนใช้เคารพบูชา) ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 30,000 บาท ตามมาตรา 357 วรรคท้าย

  1. กรณีความผิดตามมาตรา 357 วรรคสองและวรรคท้าย เป็นกรณีที่ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะมีเหตุฉกรรจ์ ซึ่งผู้กระทำจะต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใดได้นั้น ผู้กระทำต้องได้รู้ข้อเท็จจริงที่จะทำให้ตนต้องรับโทษหนักขึ้นตามองค์ประกอบที่เพิ่มมาในแต่ละมาตรานั้นๆ ด้วย ตามมาตรา 62 วรรคท้ายเช่น ผู้กระทำจะต้องรับโทษฐานรับของโจรอันเป็นทรัพย์ที่ได้มีการปล้นมา ตามมาตรา 357 วรรคสอง ผู้กระทำก็ต้องรู้ข้อเท็จจริงด้วยว่าทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์ที่ถูกปล้นมา เป็นต้น
  2. ความผิดฐานรับของโจรนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ผู้เสียหายและผู้กระทำความผิดไม่อาจยอมความให้ สิทธิที่จะนำคดีอาญามาฟ้องระงับลงได้

      ปรึกษาคดีรับของโจร โทร 0838843287

Visitors: 215,375