ทนายคดีสิทธิบัตร
สิทธิบัตรคืออะไร
ความหมายของสิทธิบัตร สิทธิบัตร (Patent) หมายถึง หนังสือ สำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการ ประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามทีกําหนดในหมวด 2 และหมวด 3 แหงพระราชบัญญัตินี้ (พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 3)
สิทธิบัตรการประดิษฐ์ การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ ต้องมี ลักษณะดังต่อไปนี้
• เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่
• เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์ สูงขึ้น
• เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ ในทางอุตสาหกรรม (มาตรา 5 แตอยภายใตบงคบมาตรา 9)
ข้อยกเว้นการละเมิดสิทธบัตรการประดิษฐ์
(1) การกระทำใด ๆ เพือประโยชนในการศึกษา ค้นควา ทดลอง หรือวิจัย ทั้งนี ตองไม่ขัดต่อการใช้ ประโยชนตามของผู้มีสิทธิบัตร
(2) การผลิตผลิตภัณฑ์หรือใช้กรรมวิธีดังที่ผู้ทรง สิทธิบัตรได้จดทะเบียนไว้ ซึ่งผู้ผลิตหรือ ผู้ใชกรรมวิธีดังกลาวได้ประกอบกิจการหรือมี เครื่องมือเครื่องใช้เพื่อประกอบกิจการดังกล่าวโดย สุจริตก่อนวันยื่นขอรับสิทธิบัตรในราชอาณาจักร โดย ผู้ผลิตหรือผู้ใช้กรรมวิธีไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ถึง การจดทะเบียน ทังนี้โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 19 ทวิ
(3) การเตรียมยาเฉพาะรายตามใบสั่งแพทย์โดยผู้ ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผประกอบโรคศิลปะ รวมทั้งการกระทำต่อผลิตภัณฑ์ยาดงกลาว
(4) การกระทำใด ๆ เกี่ยวกับการขอขึ้นทะเบียนยา โดยผู้ขอมีวัตถุประสงค์ที่จะผลิต จำหน่าย หรือ นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาตามสิทธิบัตรหลังจาก สิทธิบัตรดังกล่าวสิ้นอายุลง
การเพิกถอนสิทธิบัตร
1. เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของสิทธิบัตร (มาตรา 54, 64) โดยกฎหมายกําหนดให้ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการฟ้องศาล ขอให้เพิกถอนสิทธบัตรที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากมีการออกสิทธิบัตรโดย ไม่ถูกต้องได้
2. เนื่องจากผู้ทรงสิทธิบัตรไม่ใช้การประดิษฐ์ให้เกิดประโยชน์ใน ประเทศ โดยปรากฏข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
ก. ภายหลังที่ได้มีการออกใบอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 50แล้ว ผู้ ทรงสิทธิบัตร หรือผู้รับอนุญาต หรือผู้ได้รับอนุญาตไม่ดำเนินการผลิต หรือไม่ขาย หรือขายในราคาสุงเกินสมควรเป็นเวลาเกินสองปีนับแต่วัน ออกใบอนุญาต