ทนายคดีลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ปรึกษาโทร 0838843287

คดีลิขสิทธิ์  

ลิขสิทธิ์ เป็น ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง  โดยลิขสิทธิ์  เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น  ซึ่งงานสร้างสรรค์ได้ทำขึ้นจะต้องเป็นงานที่กฎหมายรับรองว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์  โดยปรากฎอยู่ในมาตรา 6 แห่ง พรบ. ลิขสิทธิ์  โดยสิทธินี้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง

ปรึกษาคดีลิขสิทธิ์ โทร 0838843287

ประเภทงานอันมีลิขสิทธิ์ ตาม ม.4 ม.6

   1. วรรณกรรม เช่น #หนังสือ งานนิพนธ์ นิทาน จุลสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ #โปรแกรมคอมพิวเตอร์

   2. นาฎกรรม เช่น ท่าเต้น ท่ารำ เป็นเรื่องราว การแสดงโดยวิธีใบ้

   3. ศิลปกรรม เช่น

     3.1. จิตรกรรม : ภาพวาด

     3.2. งานประติมากรรม: งานปั้น งานหล่อ(Modling) งานแกะสลัก การประกอบขึ้นรูป

     3.3. งานภาพพิมพ์ : แสตมป์ไปรษณีย์

     3.4. งานสถาปัตยกรรม : ออกแบบอาคาร โมเดลแบบอาคารจำลอง ตกแต่งภายในภายนอกอาคาร

     3.5.#งานภาพถ่าย : ภาพนิ่ง ถ่ายด้วยกล้องบันทึกภาพ

     3.6. งานภาพประกอบ : แผนที่ โครงสร้างของสิ่งของ ภาพร่าง(Sketch) ภาพสามมิติ อันเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์

     3.7. ศิลปะประยุกต์เป็นการนำ ข้อ 3.1. – 3.6. อย่างใดอย่างหนึ่งมารวมกันในชิ้นเดียว

     ทั้งนี้ งานตาม 3.1. - 3.7. จะมีคุณค่าทางศิลปะหรือไม่ ก็ได้

   4. ดนตรีกรรม เช่น #เพลง โน้ตเพลง ทำนองและเนื้อร้อง แผนภูมิเพลง

   5. โสตทัศนวัสดุ (เสียงและภาพ) เช่น VCD DVD Karaoke

   6. ภาพยนตร์

   7. สิ่งบันทึกเสียง(เสียงอย่างเดียว) เช่น เทปคาสเซ็ท CD (เทปผีซีดีเถื่อน)

   8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ งานโทรทัศน์ เช่น รายการเกมส์โชว์ เคเบิ้ลทีวี(ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก) รายการวิทยุ

   9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ และแผนกศิลปะ (กว้างๆ) เช่น Baby paint  แก้วลายมังกร

งานอันไม่มีลิขสิทธิ์ ม.6 ว.2 / ม.7

   1. ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์

   2. ข่าวประจำวัน ที่เป็นข้อเท็จจริง ส่วนบทความข่าว ภาพถ่ายข่าว , ส่วนการวิเคราะห์ข่าวมีลิขสิทธิ์

   3. รัฐธรรมนูญและกฎหมาย

   4. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง ของรัฐบาลหรือหน่วยงานท้องถิ่น

   5. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย รายงานของทางราชการ

   6. คำแปลของ ข้อ 2. - 5. ที่จัดทำโดยหน่วยงานรัฐบาล (เอกชนแปล เป็นงานมีลิขสิทธิ์)

   7. งานที่หมดอายุลิขสิทธิ์

   8. งานที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้สละแล้ว

   การคุ้มครองในต่างประเทศ : เป็นไปตามความตกลงระหว่างระหว่างด้านทรัพย์สินทางปัญญา ที่ประเทศเป็นภาคี

1. อนุสัญญากรุงเบิร์นว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรม (Berne Convention for the Protection of Literary and Artistic Works, as amended by 1979)

2. ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPS ; Agreement on Trade - Related Aspects of Intellectual Property Rights)

 

     คดีเครื่องหมายการค้า

ปรึกษาคดีเครื่องหมายการค้าโทร 0838843287

เครื่องหมายการค้า  คือ สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้เครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าทีได้จดทะเบียน โดยในมาตรา 45 พรบ. เครื่องหมายการค้าอันได้จดทะเบียนโดยมิไดจำกัดสีนั้น  ให้ถือว่าได้จดทะเบียนไว้ทุกสี

การละเมิดเครื่องหมายการค้า  แบ่งเป็นความรับผิดทางแพ่ง  และความรับผิดทางอาญา  และสิทธิของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียน  และสิทธิของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน  

การฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า แยกเป็น 2 แบบ

1. เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้ว เจ้าของมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้เครื่องหมายการค้าของตนกับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ หากมีผู้ใดมาละเมิดสิทธิ เจ้าของมีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย หรือเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าได้

2. เครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน เจ้าของมีสิทธิที่จะใช้เครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนั้น แต่จะฟ้องเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าหรือเรียกค่าเสียหายตาม มาตรา 46 ไม่ได้ แต่สามารถฟ้องข้อหาลวงขายได้ตาม ม.46 วรรค2 หรือสินค้าคนละจำพวก

 

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกา ที่น่าสนใจ

ประเด็น : การขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ต้องกระทำภายใน 5 ปีนับแต่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6969/2559

   โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กระทำการโดยไม่สุจริตดัดแปลงลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปจดทะเบียน อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 76 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า วันที่ 11 กันยายน 2546 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 29 มีนาคม 2553 จึงพ้นกำหนดระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะมีสิทธิดีกว่าก็ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้

 

 

 

Visitors: 106,935