คดีการค้าระหว่างประเทศ และคดีระหว่างประเทศ

    คดีการค้าระหว่างประเทศ

คือคดี  เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ  การขนส่ง  การประกันภัยระหว่างประเทศ  หลักจะต้องเป็นการค้าตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป  คดีการค้าระหว่าง อาจมีการขนส่งระหว่างประเทศ  ทางเรือ  อันนี้อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายรับขนทางทะเล  มีสัญญาเกี่ยวการรับรับขนทางทะเล  ส่วนการขนส่งทางอากาศ  มีกฎหมายการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ  การค้าระหว่างประเทศ  จะต้องมีพิธีการของศุลกากร  ซึ่งเอกสารบางชนิดต้องได้รับการรับรองโนตารีจากทนายความ การชื้อขายเกี่ยวกับเรือระหว่างประเทศต้องได้การรับรองจากทนายความ  และเจ้าหน้าที่

กฎหมายการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญ

- กฎหมายรับขนทางทะเล

- กฎหมายขนส่งทางอากาศ

- กฎหมายการขนส่งทางถนนระหว่างประเทศ

- กฎหมายศุลกากร

- กฎหมายหมายภาษีนิติบุคคล  หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

- กฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน

 -  ประเพณีการค้าระหว่างประเทศ  incoterm  และอนุสัญญาต่างๆระหว่างประเทศ

 - กฎหมายเกี่ยวกับสัญญาการค้าระหว่างประเทศ ประเภทของ LETTER OF CREDIT

 - การประกันภัยขนส่งทางทะเล และประกันภัยสินค้าขนส่งในทางการค้าระหว่างประเทศ

 - สัญญาอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ

               ศาลที่มีอำนาจในคดีการค้าระหว่างประเทศ คือศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ  และอนุญาโตตุลาการของหอการค้า  การอนุญาโตตุลาการนั้นจะต้องถูกระบุไว้ในสัญญาด้วย หากไม่ได้มีข้อกำหนดอนุญาโตตุลาการ ก็ไม่อาจใช้วิธีดังกล่าวได้

                                         Letter of Credit (L/C) คืออะไร?

       Letter of Credit (L/C) หรือตราสารเครดิต เป็นเอกสารยืนยันการชำระเงินในการซื้อขายสินค้า โดยธนาคารจะชำระเงินในนามของผู้ซื้อ แล้วจึงมาเรียกเก็บเงินกับผู้ซื้อภายหลัง

L/C จึงไม่เพียงช่วยอำนวยความสะดวกในการค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นหลักประกันการชำระเงินที่ยืนยันให้ผู้ขายมั่นใจว่าจะได้เงินค่าสินค้าอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ธนาคารจะไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องของการตรวจ หรือรับ-ส่งสินค้า แต่จะทำหน้าที่เพียงตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและเงื่อนไขต่างๆ รวมถึงการชำระเงินแก่ผู้ขาย เมื่อฝ่ายผู้ขายได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วน หากการซื้อขายหรือตัวสินค้ามีปัญหาผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องจัดการเคลียร์กันเอง

ดังนั้นสรุปในภาพรวม L/C จึงมีลักษณะเหมือนกับการที่ผู้ซื้อยื่นขอยืมเงินจากธนาคาร โดยที่ให้ธนาคารเป็นคนจ่ายค่าสินค้าไปก่อน แล้วค่อยคืนเงินธนาคารภายหลังพร้อมดอกเบี้ยนั่นเอง และดอกเบี้ยในที่นี้ก็คือจะเรียกว่าค่าธรรมเนียมจากการทำ L/C

                                               ประเภทของ Letter of Credit

                                            L/C จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามรายละเอียดดังนี้
1. ประเภทเพิกถอนได้ (Revocable Letter of Credit) คือ เมื่อธนาคารของผู้ซื้อเปิด L/C ให้ธนาคารของผู้ขายแล้ว ผู้ซื้อหรือธนาคารผู้เปิด L/C มีสิทธิที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือแจ้งยกเลิก L/C เมื่อไรก็ได้ โดยไม่ต้องให้ผู้ขายหรือธนาคารฝ่ายผู้ขายยินยอม ดังนั้นสำหรับผู้ขายเองแล้วควรหลีกเลี่ยง L/C ประเภทนี้ เพราะมีความเสี่ยงสูงจากการถูกยกเลิกคำสั่งซื้อ

2. ประเภทเพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Letter of Credit) คือ เมื่อธนาคารของผู้ซื้อเปิด L/C ไปแล้ว ผู้ซื้อหรือธนาคารผู้เปิด L/C จะไม่สามารถทำการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใดๆ ใน L/C ฉบับนั้นได้ หากฃผู้ขายไม่ยินยอม

                                              ประโยชน์ของการทำ Letter of Credit

• ทำให้ความเสี่ยงของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เพราะมีธนาคารเข้ามาเป็นตัวกลางในการชำระเงินค่าสินค้า ช่วยสร้างความเชื่อมั่นระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายได้ดียิ่งขึ้น
• สำหรับผู้ซื้อสินค้า จะช่วยให้ธุรกิจอยู่ในสภาพคล่อง เพราะไม่ต้องใช้เงินสดในการมัดจำหรือสั่งซื้อสินค้า สามารถรับสินค้ามาขายก่อนและค่อยนำเงินกับทางธนาคาร L/C ภายหลัง โดยจะมีระยะเวลาภายใน 90 วัน
• สำหรับผู้ขายสินค้า สามารถวางใจได้ว่าเมื่อได้จัดส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อแล้วก็จะได้รับเงินค่าสินค้านั้นจริง

 

 

 

Visitors: 107,022