ทนายคดียักยอกทรัพย์
ทนายคดียักยอกทรัพย์
กฎหมายอาญามาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งหนึ่ง
องค์ประกอบความผิดฐานยักยอกทรัพย์
1 ผู้ใด
2 ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
3 เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สาม
4 โดยทุจริต
- การครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวม อันนี้ความครอบครองต้องอยู่ที่ผู้กระทำผิด หากเป็นการยึดถือไว้ชั่วคราว ย่อทเป็นการกระทำผิดลักทรัพย์
ฏีกาที่ 710/2480 คนขับรถบรรทุก รสพ. เอาของที่บรรทุกในรถไป เป็นการกระทำผิดลักทรัพย์
ฎีกาที่ 1318/2519 เจ้าอาวาสเป็นผู้ครอบคองศาสนสถาน เอาพระพุทธรูปไป เป็นการกระทำผิดฐานยักยอกทรัพย์
การได้มาซึ่งการครอบครองมีดังนี้
1 มีการมอบการครอบครองให้โดยตรงหรือโดยปริยาย เช่น การมอบให้เอาของไปขาย หรือมอบเงินให้ไปใช้จ่ายชื้อของหากเบียดยังไปเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
2 มีการส่งมอบการครอบครองโดยบทบัญญัติกฎหมาย เช่น ผู้รับจำนำเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ แต่เบียดบังเอาทรัพย์ที่จำนำไปขาย น่อมผิดฐานยักยอกทรัพย์ ผู้เช่าชื้อเป็นผู้ครอบครอง เอาทรัพย์ที่เช่าชื้อไปขายย่อมผิดฐานยักยอกทรัพย์
3 กรณีที่ผู้ครอบครองเดิมมีทั้งกรรมสิทธิ์และการครอบครอง แต่ต่อมาได้โอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว เบียดบังเอาทรัพย์นั้นไปย่อมเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
- การฝากเงินตามประมวลแพ่งมตรา 672 ย่อมทำการคืนเงินที่ฝาก ไม่จำต้องอันเดียวกับอันที่ฝาก แต่ให้คืนให้ครบจำนวน ดังนั้นการเบียดบังเอาไปย่อมไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ฏีกาที่ 680/2545 แต่หากฝากเงินให้ไปชื้อของ ไม่ใช่การฝากเงินตามสัญญาฝากทรัพย์ หากเบียดบังไปย่อมผิดฐานยักยอกทรัพย์ ฎีกาที่ 883/2534
*** ทรัพย์ที่ยักยอกไปต้องเป็นวัตถุมีรูปร่าง จับต้องสัมผัสได้ หุ้นตามฟ้องแสดงให้เห็นถึงสิทธิหน้าที่ของโจทก์ ไม่ใช่ทรัพย์ที่จะเบียดบังยักยอกเอาได้ การเบียดบังเอาพลังงานไป ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก การเบียดบังเอาเหรียญคริปโตเคอเรนซี่ เช่น บิทคอยน์ ไปเป็นวัตถุไม่มีรูปร่าง จับต้องไม่ได้ และไม่ใช่เงินตราตามพระราชบัญญัติเงินตรา การเบียดบังเอาไปย่อมไม่ผิดฐานยักยอกทรัพย์
- การกระทำผิดฐานบักยอกสำคัญต้องมีเจตนาทุจริต
ฏีกาที่ 234/2537 กรณีมีการโต้แย้งกรรมสิทธิ์กันอยู่ ย่อมขาดเจนาทุจริต เบียดบังเอาไปย่อมไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
ข้อแตกต่างระหว่างความผิดฐานยักยอกทรัพย์กับความผิดลักทรัพย์
1 ข้อแตกต่างระหว่างความผิดฐานยักยอกทรัพย์กับความผิดฐานลักทรัพย์ คือการพิจารณาว่าความครอบคองอยู่ที่ผู้ใด ถ้าความครอบครองอยู่ที่ผู้กระทำผิดแล้วทุจริตเบียดบังเอาไปย่อมเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ แต่หากมีการยึดถือแทนแล้วเอาทรัพย์นีั้ไปย่อมเป็นความผิดฐานลักทรพย์
ฏีกาที่ 229/2510 ลูกจ้างลักลอบสูบน้ำมันเบนซินออกจากรถ การครอบครองน้ำมันไม่ได้อยู่ที่ลูกจ้าง เป็นการทำผิดฐานลักทรัพย์
ฎีกาที่ 1924-1925/2514 ลูกจ้างออกเรือ แล้วเบียดบังเอาอวน แหนายจ้างไป ลูกจ้างเพียงยึดถือแทนเป็นการกระืำผิดฐานลักทรัพย์
2 ความผิดฐานยักยอกเป็นความผิดอันยอมความกันได้ ส่วนลักทรัพย์ยอมความไม่ได้
3 อายุความความผิดฐานยักยอกทรัพย์หากไม่แจ้งความร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่รู้ถึงการกระทำผิดย่อมขาดอายุความ
แนวทางต่อสู้หรือแก้ไขเมื่อโดนคดียักยอกทรัพย์
1 .1 ประเด็นเรื่องการฝากเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งมาตรา 672 การฝากเงินไม่จำต้องคืนเงินตราอันเดียวกัน แต่ให้คืนให้จำนวนเท่านั้น ถ้าผิดสัญญาฝากเงินไม่ใช่การยักยอก
1.2 ประเด็นการครอบครองตามสัญญาเช่าชื้อ หากไม่จ่ายค่าเช่าชื้อ เป็นการผิดสัญญาไม่ใช่การยักยอก แต่ต้องไม่เอาของไปขายหรือจำนำขาด
1.3 ประเด็นเรื่องของการยืมใช้สิ้นเปลืองตาม ปพพ. มตรา 650 ไม่จำต้องส่งคืนของอันเดียวกับที่ยืมมาแต่ให้ของที่ทดแทนกันได้ หากไม่ส่งคืนเป็นการผิดสัญญาแต่ไม่ผิดฐานยักยอก
1.4 ประเด็นการมอบของให้ตามสัญญาขายเผื่อชอบ ตามกฎหมายแพ่งมาตรา 508 หากไม่ส่งมอบของคืน ถือเป็นการซื้อ หากไม่ชำระราคาย่อมเป็นการผิดสัญญาไม่ใช่การยักยอก
1.5 เรื่องการซื้อขายหากไม่ชำระราคา ไม่ใช่การยักยอก
1.6 มีการโต้เถียงกรรมสิทธิ์กันอยู่
ฏีกาที่ 234/2537 กรณีมีการโต้แย้งกรรมสิทธิ์กันอยู่ ย่อมขาดเจนาทุจริต เบียดบังเอาไปย่อมไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
1.7ทรัพย์ที่ยักยอกเป็นวัตถุไม่มีรูปร่าง ไม่อาจสัมผัสได้ เช่น หุ้น หรือเหรียญคริปโตเคอเรนซี่ หรือพลังงาน
ฎีกาที่ 13098-13090/2558 หุ้นตามฟ้องแสดงให้เห็นถึงสิทธิหน้าที่ของโจทก์ ไม่ใช่ทรัพย์ที่จะเบียดบังยักยอกเอาได้
1.8 ประเด็นเรื่องอายุความ หากไม่แจ้งความร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่รู้ถึงการกระทำผิดยัยอกเป็นอันคดีขาออายุความ
*** 1.9 ความผิดฐานยักยอกเป็นความผิดอันยอมความกันได้ ดังนั้นสามารถไกล่เลี่ย หรือทำการผ่อนจ่าย แล้วให้ผู้เสียหายถอนฟ้อง หรือยอมความได้ แม้เป็นกรณีที่ผู้เสียหายดำเนินการผ่านตำรวจก็ตาม อีกทั้งการยอมความนั้นทำได้ก่อนคดีถึงที่สุด คือ ในชั้นอุทธรณ์ หรือ ฎีกา ก็ย่อมทำการไกล่เกลี่ย ยอมความได้
ปรึกษาทนายคดียักยอกทรัพย์โทร 0838843287