คดีอาญาศาลทุจริต

คดีศาลอาญาทุจริต

1 . คดีอาญาที่ฟ้องให้ลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐในความผิดต่อต าแหน่งหน้าที่ราชการหรือ ความผิดต่อต าแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดต่อต าแหน่ง หน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่นหรือความผิดอื่นอันเนื่องมาจากการประพฤติมิ ชอบ (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8)

2.  คดีอาญาที่ฟ้องให้ลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคลที่กระท าความผิดฐานฟอกเงินที่ เกี่ยวเนื่องกับความผิดตาม(1) หรือกระท าความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับ การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ กฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือกฎหมายอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

3.  คดีอาญาที่ฟ้องให้ลงโทษบุคคลในความผิดเกี่ยวกับการเรียก รับ ยอมจะรับ หรือให้ ขอให้รับ ว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด หรือการใช้กำลังประทุษร้าย หรือใช้อิทธิพลเพื่อจูงใจ หรือข่มขืนใจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการ ใดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่น ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำ

4.   คดีอาญาที่ฟ้องขอให้ลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลตามกฎหมายที่กำหนดให้เป็นคดี ทุจริตและประพฤติมิชอบ

5.  คดีอาญาที่ฟ้องขอให้ลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลที่ร่วมกระท าความผิดกับเจ้าหน้าที่ ของรัฐหรือบุคคลตาม(1)ถึง(4) ไม่ว่าฐานะตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน หรือผู้สมคบ

6.  คดีเกี่ยวกับการจูงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สิน และเอกสาร ประกอบ หรือจงใจยื่นบัญชี และเอกสารดังกล่าวด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิด ข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ

7.  คดีที่ร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะเหตุร่ารวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ผิดปกติ 

                                       วิธีการของคดีอาญาทุจริต

1. วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบในศาลใช้ระบบไต่สวนและเป็นไปอย่าง รวดเร็ว

2. ไม่นับระยะเวลาหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความและไม่นำกฎหมายเรื่องอายุ ความล่วงเลยการลงโทษมาใช้บังคับแก่จำเลยที่หลบหนีโทษตามคำพิพากษา

3.  มีบทลงโทษกับผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยที่หนีประกัน แม้อัยการสั่งไม่ฟ้อง ศาลยกฟ้อง จำหน่ายคดีหรือถอนฟ้อง

4. ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือพร้อมชี้ช่องพยานหลักฐานให้ชัดเจน คดีที่อัยการสูงสุด พนักงานอัยการ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นโจทก์ให้ จ าเลยมาหรือคุมตัวมาศาลและให้โจทก์ส่งรายงานและส านวนการสอบสวนหรือ ส านวนการไต่สวน พร้อมส าเนาอิเล็กทรอนิกส์ต่อศาล

5. ในการไต่สวนมูลฟ้อง จำเลยอาจแถลงให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอัน สำคัญที่ศาลควรสั่งว่าคดีไม่มีมูล ศาลมีอำนาจสืบพยานหลักฐาน

6. กรณี จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แม้กฎหมาย กำหนดอัตราโทษจำคุกน้อยกว่าห้าปี หรือโทษเบากว่านั้น

7. ศาลมีอำนาจริบทรัพย์สินที่เกิดจากการกระท าผิด แม้โจทก์ไม่มีคำขอ

8. จำเลยซึ่งมิได้ถูกคุมขังต้องแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาลในขณะยื่นอุทธรณ์ หรือฎีกา

9. การฎีกาค าพิพากษาหรือค าสั่งของศาลอุทธรณ์ต้องผ่านการวินิจฉัยโดยองค์คณะผู้ พิพากษาศาลฎีกาว่าจะรับหรือไม่ 

 

 

Visitors: 107,011