ปรึกษาทนายคดีเช่าชื้อ เช่าทรัพย์

                                           

 ปรึกษาทนาย กฎหมายเกี่ยวการเช่าทรัพย์

สาระสำคัญของสัญญาเช่าทรัพย์

1. เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่มีกฎหมายรองรับไว้ บัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 4

2. เป็นนิติกรรมประเภท นิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย เช่น มีผู้ให้เช่า ผู้เช่า และผู้เช่าช่วง เป็นต้น

3. เป็นสัญญาต่างตอบแทน โดยฝ่ายผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต่อผู้เช่าคือ ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้เช่าเพื่อให้ได้เช่าใช้ประโยชน์ตามสัญญา หรือตามลักษณะทั่วไปของทรัพย์ิสินนั้น และต้องรับผิดชอบในการบำรุงซ่อมแซมเมื่อทรัพย์สินที่เช่านั้นได้เกิดความชำรุดบกพร่อง เว้นแต่เป็นการซ่อมแซมเพียงเล็กน้อยเป็นหน้าที่ของผู้เช่ารับไป ส่วนผู้เช่ามีหน้าที่ชำระค่าเช่า และออกค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์ิที่เช่านั้นตามปกติทั่วไป และซ่อมแซมในกรณีมีความชำรุดบกพร่องเพียงเล็กน้อย

4. เป็นสัญญามีค่าตอบแทนอย่างหนึ่่ง

5. สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ถ้าสัญญาเช่าจะกำหนดอายุสัญญาเช่าเกินกว่า 3 ปี ขึ้นไป หรือกำหนดตลอดอายุผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า ต้องทำสัญญากันเป็นหนังสือ คือ มีรายละเอียดข้อความว่าผู้เช่าและผู้ให้เช่าตกลงทำการเช่าอสังหาริมทรัพย์กัน โดยมีลายมือชื่อของทั้งสองฝ่ายในหนังสือสัญญา และต้องนำหนังสือสัญญาดังกล่าวไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย มิฉะนั้นสัญญาเช่าดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ได้แค่ 3 ปีเท่านั้น ตามมาตรา 538 เว้นแต่เป็นกรณีจะเข้ารูปแบบสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา

6. อสังหาริมทรัพย์ห้ามทำสัญญาเช่ากันเกิน 30 ปี ไม่ได้ ถ้าทำสัญญาเกินกว่านี้ จะมีผลลดลงมาให้ถือว่าเช่ากันเพียง 30 ปีเท่านั้น ตามมาตรา 540

7. สัญญาเช่าเป็นสัญญาที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่า

8. สิทธิเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า เมื่อผู้เช่าถึงแก่ความตายไม่ตกทอดเป็นมรดกสู่ทายาท ดังนั้น สัญญาเช่าย่อมระงับด้วยความตายของผู้เช่า เว้นแต่จะเข้าลักษณะสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา

9. ความรับผิดในสัญญาเช่าทรัพย์ เช่น ผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า, ชำระค่าเช่าผิดนัดตามกำหนด, ผู้ให้เช่าไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่า, ทรัพย์สินที่เช่านั้นชำรุดบกพร่องตั้งแต่ก่อนส่งมอบ, ทรัพย์สินที่เช่านั้นชำรุดบกพร่องในขณะที่ผู้เช่ากำลังใช้สอยประโยชน์อยู่แต่เป็นความชำรุดบกพร่องขึ้น, อาจเป็นได้ทั้งความรับผิดของผู้เช่าและผู้ให้เช่า หรือกรณีการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาเช่าโดยไม่มีอำนาจทำให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหาย เป็นต้น

 

                                     ปรึกษาทนายเรื่องการเช่าชื้อ          

 

สาระสำคัญของสัญญาเช่าซื้อ

 

 

 

1. เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่มีกฎหมายรองรับไว้ บัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 5

 

2. เป็นนิติกรรมประเภท นิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย

 

3. เป็นสัญญาต่างตอบแทนและเป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทน

 

4. สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าเช่าซื้อทรัพย์สินประเภทใด ตามมาตา 572 วรรคสอง

 

5. ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งไปยังผู้ให้เช่าซื้อก็ได้ และต้องส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง ตามมาตรา 573

 

6. ความรับผิดในสัญญาเช่าซื้อ เช่น ผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อ ผิดนัดชำระค่าเช่าตามกำหนด, ผู้ให้เช่าซื้อไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อตามกำหนด, ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้เช่าซื้อได้ , ทรัพย์สินที่เช่าซื้อนั้นชำรุดบกพร่องตั้งแต่ก่อนส่งมอบ, ทรัพย์สินที่เช่าซื้อนั้นชำรุดบกพร่องในขณะที่ผู้เช่าซื้อกำลังใช้สอยประโยชน์อยู่อาจเป็นได้ทั้งความรับผิดของผู้เช่าซื้อและผู้ให้เช่าซื้อ หรือกรณีการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาเช่าโดยไม่มีอำนาจทำให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหาย เป็นต้น

                                            คดีเช่าชื้อรถยนต์

สรุปประเด็นเกี่ยวกับคดีเช่าชื้อรถยนต์

 

คำถาม 1. ผ่อนต่อไม่ไหว ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาได้ไหม

 

ตอบ : ผู้เช่าซื้อสามารถบอกเลิกสัญญาเมื่อไรก็ได้ แต่ต้องส่งมอบรถยนต์คืนแก่ผู้ให้เช่าซื้อ พร้อมชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้ครบถ้วน ถ้ายังไม่คืนรถ ถึงแม้จะบอกเลิกสัญญา ก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 อ้างอิง ฎ.3149/2530

 

คำถาม 2. รถยนต์หายในระหว่างผ่อนชำระ ผู้เช่าซื้อยังคงต้องรับผิดอยู่ไหม

 

ตอบ : ยังต้องรับผิดอยู่ อ้างอิง ฎ.155/2535

 

   เพราะโดยส่วนใหญ่ ในสัญญาลิสซิ่ง ทางไฟแนนซ์มักจะเขียนไว้ให้ผู้เช่าซ้อต้องรับผิดอยู่ แม้รถยนต์จะสูญหาย ถูกโจรกรรม หรือเสียหายโดยเหตุสุดวิสัยใดๆ ข้อตกลงดังกล่าวใช้บังคับได้กัน ไม่เป็นโมฆะ อ้างอิง ฎ.3295/2533

 

   ซึ่งถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดได้ ส่วนค่าขาดประโยชน์นั้น เรียกร้องไม่ได้ อ้างอิง ฎ.5819/2550

 

   หากมีการรับประกัน ผู้ใช้เช่าซื้อได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันครบถ้วนแล้ว ไม่สามารถเรียกค่าผู้เช่าซื้อได้อีก อ้างอิง ฎ.4819/2549

 

คำถาม 3. ค่าขาดประโยชน์ คือ ค่าใช้รถยนต์หลังผิดสัญญา ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดไหม เพียงใด

 

ตอบ : ต้องรับผิด ซึ่งไฟแนนซ์สามารถเรียกร้องได้ ในระหว่างที่รถยนต์อยู่ในความครอบครองของผู้เช่าซื้อ โดยนับตั้งแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันที่ได้รับรถยนต์คืน อ้างอิง ฎ.1960/2545

 

   แต่ค่าขาดประโยชน์ ไม่ถือเป็นหนี้ค้างชำระ จึงไม่สามารถเรียกดอกเบี้ยได้ แม้สัญญาจะระบุไว้ก็ตาม อ้างอิง ฎ.3668/2532

 

คำถาม 4. ค่าติดตามยึดรถ ค่าทวงถาม ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมศาล ค่าซ่อม ไฟแนนซ์สามารถเรียกได้ไหม

 

ตอบ : ได้ ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ที่สมเหตุสมผล ซึ่งจะขึ้นอยู่ที่ดุลพินิจของศาล

 

คำถาม 5. การยึดรถคืนของไฟแนนซ์ มีขั้นตอนปฏิบัติตามกฎหมายอย่างไร

 

ตอบ : ผู้เช่าซื้อจะต้องค้างชำระ 3 งวดติดต่อกัน และอีก 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้ รวมทั้งสิ้นเป็น 4 เดือน แล้วผู้เช่าซื้อไม่ชำระ จึงถือว่าสัญญาเลิกกัน ไฟแนนซ์จึงจะมีสิทธิสามารถติดตามยึดรถกลับคืนได้

 

ถ้ายึดก่อนสัญญาสิ้นสุดลง ผู้เช่าซื้อมีสิทธิไม่คืนรถให้ได้ การยึดรถต้องเป็นกรณีที่ผู้เช่าซื้อให้ยินยอมเท่านั้น ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 หากถูกยึด ผู้เช่าซื้อควรถ่ายรูปหรือคลิปวิดิโอไว้ แล้วนำไปแจ้งความต่อตำรวจไว้เป็นหลักฐาน เพราะไฟแนนซ์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เว้นแต่จะตกลงกันในสัญญา ระบุผิดนัดเพียงงวดเดียวสามารถบอกเลิกสัญญาได้ อ้างอิง ฎ.3842/2526

 

   ถ้ามีการบังคับขู่เข็ญใด ๆ จากผู้ตามยึด ถือเป็นการกระทำที่มีความผิดต่อเสรีภาพ ตาม ป.อ. มาตรา 309

 

: ถ้าติดตามยึดรถคืน หลังสัญญาสิ้นสุดลง ไฟแนนซ์สามารถเรียกค่าติดตามรถ ค่าขาดราคารถยนต์ ค่าขาดประโยชน์ ได้ เพราะถือว่าผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญา

 

คำถาม 6. สถานที่ยึดรถ

 

ตอบ : เฉพาะในที่สาธารณะ ที่คนทั่วไปเข้าไปได้ ที่ส่วนบุคคล ไม่สามารถเข้ายึดได้

 

คำถาม 7. ยึดแล้ว จะนำรถไปไหนต่อ

 

ตอบ : เมื่อยึดรถแล้ว ทางไฟแนนซ์จะนำรถไปขายทอดตลาด โดยจะมีหนังสือแจ้งผู้เช่าซื้อก่อน นำรถยนต์ขายทอดตลาด เพื่อให้ใช้สิทธิในการปิดบัญชี หกผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันไม่ใช้สิทธิ ก็จะนำขายทอดตลาดให้กับบุคคลทั่วไป หากมีเงินขาดทุนไฟแนนซ์ก็อาจจะฟ้องผู้เช่าซื้อให้รับผิดในค่าขาดราคารถยนต์

 

คำถาม 8. ไฟแนนซ์ยึดรถยนต์ไปขายทอดตลาด แล้วมีราคาที่ยังขาดอยู่ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดไหม เพียงใด

 

ตอบ : ยังต้องรับผิดชอบอยู่ ในส่วนของค่าขาดราคารถยนต์ แต่เป็นจำนวนที่ขาดจากราคารถยนต์ที่แท้จริง มิใช่ ราคาค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่

 

   แต่ในทางปฏิบัติ ไฟแนนซ์ซื้อมักจะฟ้องมาเท่ากับจำนวนหนี้ค่าเช่าซื้อในสัญญาที่ยังขาดอยู่ อ้างอิง ฎ.5363/2545

 

   เมื่อไฟแนนซ์ได้รับรถคืน ไม่ว่าจะเป็นกรณีผู้เช่าซื้อนำรถไปคืนเอง หรือถูกตามยึดรถได้ เมื่อไฟแนนซ์นำรถไปขายทอดตลาด (ซึ่งต่ำกว่าราคาในท้องตลาดมาก) หากได้เงินเกินกว่าหนี้ ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญา ประกอบด้วย ค่างวดส่วนที่เหลือ ค่าปรับ ค่าทวงถาม ค่าติดตามยึดรถ ค่าขายทอดตลาด ดอกเบี้ย ไฟแนนซ์จะคืนเงินส่วนที่เกินให้ แก่ผู้เช่าซื้อ (ซึ่งมีโอกาสน้อยมาก) แต่หากได้ราคาน้อยกว่าหนี้ส่วนที่ขาดตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำ (ถ้ามี) จะต้องรับผิดชำระเงินส่วนต่างที่ขาดอยู่

 

   โดยสัญญาเช่าซื้อจะมีข้อตกลงในผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบ โดยถือเป็นลักษณะเบี้ยปรับ ที่ศาลมีอำนาจลดลงได้ตามที่เห็นสมควร อ้างอิง ฎ.45/2530

 

โดยไฟแนนซ์ ต้องปฎิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย คือ

 

: ก่อนขาย ไฟแนนซ์ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เช่าซื้อ หรือผู้ค้ำประกัน ทราบก่อนไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้สิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ สามารถซื้อรถยนต์คืนได้ในราคาที่ค้างชำระ

 

: หลังจากขายแล้ว ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันทราบว่า ขายรถยนต์คันที่เช่าซื้อได้ราคาเท่าไหร ยังเหลือหนี้อยู่อีกเท่าไหร หรือขายได้กำไรกี่บาท ภายใน 15 วัน นับจากวันขายทอดตลาด

 

   ถ้าไม่แจ้งให้ทราบตามกฎหมาย ก็เรียกค่าเสียหายค่าขาดราคารถไม่ได้ ยกเว้นจะระบุไว้ในสัญญา

 

 คำถาม 9. ค่าขาดราคารถยนต์นั้น คิดคำนวณจากอะไร

 

ตอบ : ศาลจะคิดคำนวณจากราคารถยนต์คันที่เช่าซื้อในราคาตลาดในขณะที่ขาย หักด้วยค่างวดค่าเช่าซื้อทั้งหมดที่จ่ายมาแล้ว หักด้วยราคารถยนต์คันที่เช่าซื้อที่ขายทอดตลาดได้

 

คำถาม 10. การเรียกค่าขาดประโยชน์ มีอายุความกี่ปี 

ตอบ : 10 ปี อ้างอิง ฎ.2576/2546

 

 คำถาม 11. การเรียกให้ชำระราคาส่วนที่ขาดทุน โดยมิได้เรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ อายุความกีปี

 

ตอบ : 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 อ้างอิง ฎ.1643/2546

 

 คำถาม 12. การเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ มีอายุความกี่ปี

 

ตอบ : 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(6) อ้างอิง ฎ.3358/2530

 

 คำถาม 13. เรียกค่าเสียหาย กรณีผู้เช่าซื้อให้ทรัพย์ชำรุดบุบสลาย มีอายความกี่ปี

 

ตอบ : 6 เดือนนับแต่วันส่งคืน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563

 

 คำถาม 14. การฟ้องติดตามเอารถนต์คืน มีอายุความกี่ปี

 

ตอบ : ไม่มีอายุความ

 

ปรึกษาทนายคดีเช่าทรัพย์  เช่าชื้อ โทร 0838843287

 

 

Visitors: 215,459