คดีแพ่งจะฟ้องต่อศาลใด
คดีแพ่งการฟ้องคดีนั้น ย่อมต้องฟ้องต่อศาลที่พื้นที่นั้นอยู่ในเขตอำนาจ จะฟ้องต่อศาลอื่นไม่ได้ เช่นคดีอยู่ในอำนาจศาลจังหวัดเชียงใหม่ จะมาฟ้องคดีที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ไม่ได้ ศาลย่อมไม่รับฟ้อง หรือรับฟ้องมาแล้วก็ตัดสินไม่ได้ ต้องยกฟ้องให้ไปฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
เขตอำนาจศาลคดีแพ่ง
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4 เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น
(1) คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่
(2) คำร้องขอ ให้เสนอต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล หรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
กรณีคำฟ้อง ให้ฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ นั่นหมายถึงที่อยู่ของจำเลย โดยหลักแล้วจะดูที่ทะเบียนบ้านของจำเลยเป็นหลัก หรือสถานที่มูลคดีเกิด คือคดีเกิดที่ไหนฟ้องที่นั่น
ภูมิลำเนาของจำเลยตามกฎหมายได้แก่
1 ภูมิลำเนาของบุตคลธรรมดา ตามกฎหมายแพ่งมาตรา 37-49
2 ภูมิลำเนาของนิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งมาตรา 67-69
3 กรณีให้ถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร
3.1 เคยมีภูมิลำเนาอยู่กำหนด 2 ปี ก่อนฟ้อง
3.2 เคยประกอบกิจการในราชอาณาจักรที่ใดอยูา ในกำหนด 2 ปี ก่อนฟ้อง
กรณีมูลคดีเกิด
คือสถานที่ที่เกิดคดี มูลคดีตามกฎหมาย หมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่แห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้เกิดอำนาจฟ้องคดี หรือเหตุแห่งการฟ้องร้อง ( ฎีกาที่ 2155/2540 ) เช่นสถานที่ตกลงทำสัญญาชื้อขายที่ไหน ที่นั้นคือที่มูลคดีเกิด สถานที่สัญญาเกิด คำเสนอได้รัการตอบสนองรับที่ไหนที่นั้นสัญญาเกิด ที่ทำสัญญา เป็นที่มูลคดีเกิด ฟ้องได้ที่ทำสัญญา
ฎีกาที่ 3720/2553 สถานที่รับมอบสินค้า เป็นที่มูลคดีเกิด เพราะการจัดส่งสินค้าแล้วจำเลยรับเอาไว้ เป็นการสนองรับ
ฎีกาที่ 8506/2551 สถานที่ธนาคารปฎิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค เป็นที่มูลคดีเกิด
กรณีคดีไม่มีข้อพิพาท คือคำร้องฝ่ายเดียว ให้เสนอต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล หรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล แต่คำร้องให้จัดการมรดก ให้เสนอต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย
คำร้องให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่นิติบุตคล ให้เลิกนิติบุคคล ขอตั้งหรือถอนผู้ชำระบัญชีนิติบุคคลให้เสนอต่อศาลที่ นิติบุคคลนั้นมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
ปรึกษาทนายโทร 0838843287