ลักทรัพย์กับฉ้อโกงต่างกันอย่างไร

                      ลักทรัพย์กับฉ้อโกงอย่างไร

มาตรา 334  ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท

มาตรา 341  ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

1 การลักทรัพย์เป็นการเอกทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยพลการ  โดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่ยินยอม  แต่ฉ้อโกงเป็นหลอกลวงให้ได้ทรัพย์มา  โดยเจ้าของของหรือผู้ครอบครองส่งมอบให้จากการหลอกลวง

- การเอาป้ายสินค้าออก แล้วติดราคาที่ต่ำกว่า  เป็นความผิดฐานฉ้อโกง  ฏีกาที่ 6892/2542 

- การเอาสินค้าอื่นใส่กล่อง  แล้วไปชำระราคา  เป็นความผิดฐานลักทรัพย์  เท่ากับพนักงานซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ขายมิได้มีเจตนา ส่งมอบให้ จึงผิดฐานลักทรัพย์

- หลอกขี้ม้า แล้วขี่ม้าไปเลย  ผิดฐานลักทรัพย์

- นำรถบรรทุกไปรับจ้างบรรทุกถั่วเขียว  แล้วเอาถั่วไปเลย ย่อมผิดฐานลักทรัพย์

2 ลักทรัพย์ต้องเป็นวัตถุมีรูปร่างแต่ฉ้อโกง เป็นทรัพย์สินมีรูปร่างหรือไม่ก็ได้

3 ลัทรัพย์ยอมความไม่ได้  แต่ฉ้อโกงยอมความได้

 

ปรึกษากฎหมายเรื่องลักทรัพย์หรือฉ้อโกงโทร 0838843287

รายการล่าสุดที่คุณดู
Visitors: 215,458