ปรึกษาทนายคดีหน่วงเหนี่ยวกักขัง

         ปรึกษาทนายคดีความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง

 

ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง   เป็นความผิดต่อเสรีภาพของบุคคล เป็นเสรีภาพในการเคลื่นย้ายร่างกาย 

ประมวลกฎหมายอาญามตรา 310  ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก เป็นเหตุให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวถูกกักขังหรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายนั้นถึงแก่ความตาย หรือรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙๐ มาตรา ๒๙๗ หรือมาตรา ๒๙๘ นั้น

 

องค์ประกอบความผิด

1 ผู้ใด

หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย

3 โดยเจตนา

ตัวอย่างความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง

- กรณีมีอำนาจกระทไได้  ย่อมไม่เป็ความผิด  เช่นตำรวจจับผู้กระทำผิด

- กรณีการแจ้งความเท็จให้ตำรวจจับ ไม่เป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง ฏีกาที่ 916/2467

- การปลอมหมายจับ แล้วมาแจ้งให้ตำรวจให้จับ  ผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังได้

- การกระทำความผิดมาตรา 310 ต้องมีเจตนาที่จะหน่วงเหนี่ยว กักขัง

การจะผิดตามมาตรานี้  ถ้าผู้ถูกกระทำยังคงเคลื่นไหวได้  ไปไหนมาไหนได้ ย่อมไม่เป็นความผิด

ฏีกาที่ 1908/2518  การเอารถยนต์ขวางกั้น  ไม่ให้ออกจากซอยได้  ยังไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้

- ใส่กูญแจทำให้เข้าห้องพักไม่ได้  ไม่ผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง  แต่ถ้าขังคนไม่ให้ออกจากห้อง ผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังได้

 

ปรึกษาทนายคดีโทร 0838843287

Visitors: 215,459