ทนายคดีพรากผู้เยาว์
ปรึกษาทนายคดีพรากผู้เยาว์
1. ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 318 ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวผู้เยาว์ซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น
ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
องค์ประกอบความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามมาตรา 318
1 ผู้ใด
2 พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปี
3 ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล
4 โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วย
5 เจตนา
การพราก ตามพจนานุกรม หมายความว่า การเอาไปหรือพาไปหรือการแยกผู้เยาว์ออกจาความชอบธรรมของผู้อื่นที่ปกครองดูแล โดยการพรากนี้ไม่จำกัดวิธีการ
- ผู้เยาว์ หมายถึงผู้ที่อายุเกิน 15 แต่ไม่เกิน 18 ปีตามมาตรานี้ และต้องเป็นผู้เยาว์ หากบรรลุนิติภาวะโดนการแต่งงาน ไม่ใช่ผู้เยาว์อีกต่อไป
- การพรากผู้เยาว์ตามมาตรา 318 นี้ ผู้เยาว์ต้องไม่เต็มใจไปด้วย ดังนั้นหากใช้กำลังฉุด ใช้อุบายหลอกลวง อยู่ในความหมายของการไม่เต็มใจทั้งสิ้น
ฏีกาที่ 210/2541 จำเลยหลอกผู้เสียหายว่าจะให้ไปทำงานร้านอาหาร แต่กลับพาไปขาย เพื่อค้าประเวณี ถือไดว่าผู้เสียหายไม่ได้เต็มใจไปด้วย จึงเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร
- หากการพรากผู้เยาว์ได้กระทำเพื่อค้ากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ต้องได้รับโทษหนักขึ้น
ฏีกาที่ 5117/2562 จำเลยที่1 ข่มขู่โจทก์ร่วมที่ 1 ให้มาหาที่บ้านและกระทำการไม่สมทางเพศต่อเนื้อตัวร่างกาย ทั้งที่รู้ว่าโจทก์ร่วมที่ 1 อยู่ในความดูแลของโจทก์ร่วมที่ 2 ถือว่าได้ว่ามีเจตนาแยกโจทก์ร่วมที่ ออกจากโจทก์ร่วมที่ 2 ผู้เป็นมารดา เป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของมารดา เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามมาตรา 318
2. ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 319 ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล เพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวผู้เยาว์ซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น
องค์ประกอบความผิด
1 ผู้ใด
2 พรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปี
3 ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล
4 โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วย
5 เพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร
- มาตรานี้เป็นการพรากผู้เยาว์ แต่เป็นการที่ผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย ต่างจากมาตรา 318 ซึ่งผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย แต่การจะผิดมาตรานี้ได้ต้องกระทำเพื่อ ค้ากำไร หรือเพื่อการอนาจาร
ฏีกาที่ 4587/2532 ผู้เสียหายเต็มใจไปอยู่กินกับจำเลย และได้ทำพิธีแต่งงานและหมั้นกัน การกระทำของจำเลย ไม่เป็นการพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร
- กรณีพาไปเป็นภริยา ต้องได้ความว่าจำเลยยังไม่มีภริยาอยู่ตั้งแต่แรก ไม่เช่นจะผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามมาตรานี้
- ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ เป็นความผิดต่ออำนาจปกครอง ของ บิดา มารดา ผู้ปกครอง ดังนี้ บิดา มารดา ผู้ปกครอง เป็นผู้เสียหายสามารถร้องทุกข์ต่อตำรวจหรือให้ทนายฟ้องคดีได้
ปรึกษาทนายคดีพรากผู้เยาว์โทร 0838843287