ทนายคดีชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โทร 061-564-8210
คดีชิงทรัพย์
กฎหมายอาญามาตรา 339 ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
1. ให้ความแก่ลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
2. ให้ยื่นทรัพย์นั้นให้
3. ยึดถือทรัพย์ไว้
4. ปกปิดการกระทำความผิด
5. ให้พ้นจากการจับกุม
ผู้นั้นกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงยีสิบปี
ความผิดฐานชิงทรัพย์ต้องเริ่มจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ก่อน แต่การจะเป็นความผิดชิงทรัพย์ต้องมีการใช้กำลัง หรือจะใช้กำลังในทันใดด้วย หลักการคือ ลักทรัพย์+ทำร้าย หรือ จะใช้กำลังทำร้ายในทันใด ต้องทำต่อเนื้อตัวร่างกาย เพื่อ ข้อ 1- 5 แต่ถ้าเพื่อการอื่นนั้นไม่ใช่ชิงทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2500 ( ประชุมใหญ่ ) จำเลยโกรธผู้เสียหายเพราะนอกใจ จึงฆ่าผู้เสียหาย ต่อมาเห็นทรัพย์ที่ตัวผู้เสียหายจึงเอาทรัพย์ในภายหลัง ไม่ใช่การกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เป็น ฆ่า + ลักทรัพย์
- การบังคับชำระหนี้โดย พลการ อาจเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ หรือ ลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10094/2547
ผู้เสียหายเป็นหนี้จำเลย 500 บาท จำเลยไปยึดเอาจักรยานยนต์ผู้เสียหายไปประกันหนี้ โดยพลการไม่ฟ้องศาล ย่อมเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หากมีการใช้กำลังประทูษร้ายในการบังคับชำระหนี้ ย่อมเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
การใช้กำลังประทุษร้าย คือการทำต่อเนื้อตัวร่างกาย แต่ถ้าทำต่อทรัพย์ย่อมไม่ใช่ความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่อาจผิดฐานกรรโชกทรัพย์ เช่น ขู่จะฆ่าหมาให้ส่งเงินมา 500
ปรึกษาทนายความคดีชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โทร 0838843287