คดีฉ้อโกง

 

คดีฉ้อโกง คือ อะไร

การฉ้อโกง  คือ การหลอกลวงเพื่อเอาทรัพย์สินของผู้อื่นไป  แสดงว่าต้องมีการหลอกลวง เพื่อให้ได้ไปซึ่งทรัพสินของผู้อื่น

การหลอกลวง  ต้องหลอกข้อเท็จจริงในปัจจุบัน  เช่น หลอกไปลงทุนแล้วไม่มีบริษัทอยู่จริง  

ดังนี้น  การกู้ยืมเงินไม่ใช่ฉ้อโกง  ให้ร่วมลงทุนแล้วขาดทุนหมด

 

ความผิดฐานฉ้อโกงได้แก่

1  ความผิดฐานฉ้อโกงทั่วไป  ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 341  

2  ฉ้อโกงประชาชน  คือ หลอกลวงคนทั่วไป  ไม่เจาะจง  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343

3  ฉ้อโกงแรงงาน  คือ หลอกลวงคนตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ให้เขาทำงานให้

4  ฉ้อโกงค่าอาหารหรือเข้าพักโรงแรม  โดยรู้ว่าไม่มีเงินจ่าย

5 ฉ้อโกงประกันภัย

6 โกงเจ้าหนี้  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 349  และ มาตรา  350

7 ความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงิน อันเป็นการฉ้อโกงประชาชน  เช่น  พวกแชร์ลูกโซ่

 แชร์  FOREX( หลอกลงทุน ไม่ได้ลงทุนจริง )  แต่ถ้าเป็นการลงทุนใน FOREX  ไม่มีความผิดแต่อย่างไร

*****  ความผิดฐานฉ้อโกง  เป็นความผิดอันยอมความกันได้  เว้นแต่ ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน  และ พระราชกำหนด  การกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน ดังนั้นความผิดที่ยอมความกันได้  ย่อมเจรจา  ไกล่เกลี่ย  กันได้ทุกชั้นศาล 

ตัวบทกฎหมายอันเกี่ยวกับความผิดคดีฉ้อโกง

 

มาตรา 341  ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               

 

               มาตรา 342 ถ้าในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ผู้กระทำ
               (๑) แสดงตนเป็นคนอื่น หรือ
               (๒) อาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกลวงซึ่งเป็นเด็ก หรืออาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้ถูกหลอกลวง
               ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              

 

               มาตรา 343  ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๓๔๑ ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในมาตรา ๓๔๒ อนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
              

 

               มาตรา 344 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปให้ประกอบการงานอย่างใด ๆ ให้แก่ตนหรือให้แก่บุคคลที่สาม โดยจะไม่ใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้างแก่บุคคลเหล่านั้น หรือโดยจะใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้างแก่บุคคลเหล่านั้นต่ำกว่าที่ตกลงกัน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              

 

               มาตรา 345  ผู้ใดสั่งซื้อและบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือเข้าอยู่ในโรงแรม โดยรู้ว่าตนไม่สามารถชำระเงินค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม หรือค่าอยู่ในโรงแรมนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
               

 

               มาตรา 346  ผู้ใดเพื่อเอาทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม ชักจูงผู้หนึ่งผู้ใดให้จำหน่ายโดยเสียเปรียบซึ่งทรัพย์สิน โดยอาศัยเหตุที่ผู้ถูกชักจูงมีจิตอ่อนแอ หรือเป็นเด็กเบาปัญญา และไม่สามารถเข้าใจตามควรซึ่งสาระสำคัญแห่งการกระทำของตน จนผู้ถูกชักจูงจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
             

 

               มาตรา 347  ผู้ใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการประกันวินาศภัย แกล้งทำให้เกิดเสียหายแก่ทรัพย์สินอันเป็นวัตถุที่เอาประกันภัย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              

 

               มาตรา 348ความผิดในหมวดนี้ นอกจากความผิดตามมาตรา ๓๔๓ เป็นความผิดอันยอมความได้

              คำพิพากษาคดีฉ้อโกง

การหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือยืนยันข้อเท็จจริงอันบิดเบือนไป การกล่าว จากที่เป็นอยู่ในขณะที่แสดง ซึ่งจะต้องเป็น ข้อเท็จจริงในอดีตหรือในปัจจุบัน ดังนั ้น ข้อเท็จจริงอันเป็นการคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ ในอนาคตจึงไม่อาจเป็นข้อความเท็จได้

ฎีกา ปี 2532 จำเลยตกลงจะขายข้าวโพดให้ผู ้เสียหายโดยผู้เสียหายจ่ายเงินค่า ข้าวโพดให้จำเลยล่วงหน้าบางส่วน ครันผู้เสียหายไปขอรับมอบปรากฏว่าข้าวโพดได้หายไปจาก เดิมเกือบครึ่งหนึ่ง จ าเลยบอกว่าไม่ขายข้าวโพดให้ผู้เสียหายและไม่ยอมให้นาข้าวโพดไป ผู้เสียหายทวงเงินคืนจ าเลยบอกว่าไม่มีเงินคืนให้ เช่นนี้เป็นเรื่องที่จำเลยจะขายข้าวโพดให้ผู้เสียหายแล้วเปลี่ยนใจไม่ยอมขายขาวโพดทมอยจรงในขณะเจรจาซอขายตกลงกัน จึง เป็นกรณีที่จำเลยประพฤติผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

ฎีกาที่ 124/2535 จ าเลยตกลงขายไม้ยางท่อนซุงและรับเงินค่าไม้จากผู ้สียหายโดย เจตนาขายไม้ยางท่อนซุงที ่ได้ตกลงซื ้อไว้ แต่จ าเลยไม่สามารถจัดส่งได้เพราะทางราชการไม่ อนุญาตให้ท าไม้ดังกล่าว การกระท าของจ าเลยจึงเป็นการผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่ใช่ฉ้อโกง

 

 

 

Visitors: 107,013